วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

บทความเรื่องลักษณะของคำในภาษาไทย







1. เป็นคำภาษาโดด มีคำใช้โดยอิสระ ไม่ต้องเปลี่ยนรูปเพื่อบอก เพศ,พจน์,กาล เช่น พ่อ,แม่,เขย,ลุง,พระ เป็นคำแสดงเพศในตัว ฝูง,กอง,เดียว,เหล่า,เด็กๆ เป็นคำแสดงพจน์(จำนวน)ในตัว กำลัง,จะ,แล้ว,เพิ่ง,เมื่อวาน เป็นคำแสดงกาล(เวลา)ในตัว


2. คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว เป็นคำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว เข้าใจได้ทันที เช่น แมว,กบ,แม่,นอน,สวย,พ่อ,นา


3. สะกดตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา และไม่มีคำใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ เช่น มาตราแม่กก สะกดด้วย ก: ปาก,มาก,นัก,จัก,บอก
มาตราแม่กด สะกดด้วย ด: ปาด,ลด,สอด,ปิด,จุด
มาตราแม่กบ สะกดด้วย บ: รบ,พบ,จับ,สิบ,งบ
มาตราแม่กง สะกดด้วย ง: ลง,ราง,พุ่ง,ว่าง,รอง,มาตราแม่กน สะกดด้วย น: ฝัน,ปีน,กิน,ตน,นอน
มาตราแม่กม สะกดด้วย ม: นม,ตูม,นิ่ม,ขม,ซ้อม
มาตราแม่เกย สะกดด้วย ย: ย้าย,เฉย,รวย,หาย,สวย
มาตราแม่เกอว สะกดด้วย ว: ดาว,เลว,ชาว,ทิว,กิ่ว


4. มีเสียงวรรณยุกต์ทำให้ระดับเสียงต่างกัน,มีคำใช้กันมากขึ้น ,เกิดความไพเราะดังเสียงดนตรีและสามารถเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างไกล้เคียง เช่น โฮ่งๆ,กุ๊กๆ,เจี๊ยบๆ,ฉ่าๆ,ตุ้มๆ, วรรณยุกต์สร้างคำเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง
นอง,น่อง,น้อง ;ไร,ไร่,ไร้ วรรณยุกต์ทำให้มีเสียงต่างกัน


5. การสร้างคำ ภาษาไทยมีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้และมีการสร้างคำใหม่โดยการประสมคำ,ซ้ำคำ,ซ้อนคำ,การสมาส-สนธิ ฯลฯ เช่น พ่อมด,แม่น้ำ,วิ่งราว คือการนำคำไทยมาประสมกับคำไทย
รางชอล์ก,เพลงเชียร์,ของฟรี, คือการนำคำไทยมาประสมกับคำในภาษาอังกฤษ
มนุษย์+ศาสตร์ = มนุษยศาสตร์ ,ศิลป์+กรรม = ศิลปกรรม คือการนำคำจาก
ภาษาสันสกฤตสมาสกับคำภาษาสันสกฤต
ราช + โอวาท = ราโชวาท ,อิฏฐ + อารมณ์ = อิฏฐารมณ์ คือการนำคำจากภาษา
บาลีสนธิกับคำภาษาบาลี


6. การเรียงคำในประโยค ภาษาไทยเรียงเป็นประโยคแบบ ประธาน + กริยา + กรรม (ฉันกินไก่) ส่วนคำขยายจะเรียงไว้หลังที่ถูกขยายเสมอ เว้นแต่บอกปริมาณบางคำจะวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังที่ถูกขยายก็ได้ เช่น เธอวิ่งช้า,ฉันเขียนสวย คำขยายอยู่หลังคำถูกขยายมากคนมากความ,มีหลายเรื่องที่อยากบอก คำบอกปริมาณอยู่หลังคำที่ถูกขยายเดินคนเดียวล้มคนเดียว,เรือนสามน้ำสี่ คำบอกจำนวนอยู่หลังคำที่ถูกขยายส่วนคำขยายกริยา และมีกรรมมารับ คำขยายจะอยู่หลังกรรม เช่น ฉันอ่านหนังสือมากมาย


7. มีลักษณนาม
ก. คำลักษณนามจะอยู่ข้างหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับเช่น ฉันรักแมวทั้ง 10 ตัว เข้าได้รับบ้าน 1 หลัง ที่ดิน 2 แปลงเป็นมรดก*ถ้าใช้คำว่า "เดียว" เป็นจำนวนนับ คำลักษณนามจะอยู่หน้าคำว่าเดียว เช่น ขวดเดียวก็เกินพอ
ข. คำลักษณนามตามหลังคำนามเพื่อลักษณะของนามนั้น เช่น ปลาตัวใหญ่นี้แพงมาก, ที่ดินแปลงนี้สวยจริง ๆ ,เทียนเล่มแดงหายไปไหน


8. ภาษาไทยมีการแบ่งวรรคตอนเป็นจังหวะ การเขียนภาษาไททยจำเป็นต้องแบ่งวรรคตอน ส่วนการพูดภาษาไทยก็จำเป็นต้องเว้นจังหวะให้ภฃถูกต้อง เพื่อความชัดเจนของข้อความที่จะพูดและเขียนนั้น เช่น ยานี้กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน หมายความว่า ยานี้กินแล้วดี ยานี้กินแล้วแข็ง แรงไม่มีโรค โรคภัยเบียดเบียน หมายความว่า ยานี้กินแล้วไม่ดี


9. ภาษาไทยมีคำเลือกใช้ตามกาละเทศะ การเลือกใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคคลแสดงถึงลักษณะของวัฒนธรรมทางภาษา สังคมไทยเป็นสังคมที่นับถืออาวุโส ทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาาติวุฒิ จึงมีคำใช้ตามฐานะของบุคคลเพื่อแสดงถึงความยกย่องกันและกัน ภาษาจึงมี "คำราชาศัพท์" ใช้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น