วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม







ประวัติการก่อตั้งสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
อีสาน ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรม ที่สืบทอดมาเป็นเวลานานจาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น การขุดค้นพบ ศิลปวัฒนธรรมบ้านเชียง  ซึ่งนับว่าเป็นอารยธรรม ใหม่ของโลกนั้น ยืนยันได้ว่าอีสาน เคยเป็นแหล่งอารยธรรม อันเก่าแก่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่  ความเชื่อศิลปะประเพณีและภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีความสำคัญยิ่ง  ด้วยการเล็งเห็นคุณค่าความสำคัญ ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ของชาวอีสานนี้ " สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน " จึงได้กำเนิดขึ้นสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานเป็น  หน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีฐานะ เทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัย
 "ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓โดย เริ่มจากกลุ่มผู้สนใจ คณาจารย์ นิสิต ชาวบ้านที่มีใจรักในงานศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ใช้เวลาว่างในวันหยุดออกสำรวจศึกษาถ่ายภาพและซักถาม สัมภาษณ์ สังเกต ดูของจริง เก็บตัวอย่างทำการรวบรวมข้อมูล นำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์วิจัย จัดนิทรรศการ เพื่อการอนุรักษ์  เผยแพร่และส่งเสริมให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันโดยเฉพาะด้านการศึกษาวิจัยศิลปะพื้นบ้าน ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถนำผลวิจัยไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพและยกฐานะทางเศรษฐกิจ ของประชาชนในท้องถิ่นให้สูงขึ้นการดำเนินงานเป็นไปด้วยดีเพราะความร่วมมือร่วมใจของคณาจารย์ นิสิต เจ้าหน้าที่ และที่สำคัญคือ ความร่วมมือที่ดีและจริงใจของชาวบ้านในท้องถิ่นอีสานศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อตั้งขึ้น ณ ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม       (ในสมัยนั้น )
              " ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "ได้พัฒนาก้าวหน้าเป็นลำดับการขยายการดำเนินงานเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้ผู้ที่ี่สนใจนิสิตนักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๒๙ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศให้"ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"มีชื่อเป็นทางการว่า "สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน"โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๙๘หน้า ๙ -๑๐ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๙ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน ๔๒ ล้านบาท สร้างอาคารของสถาบันฯ เป็นอาคารทรงไทยอีสานประยุกต์ ๔ ชั้นซึ่งมีเอกลักษณ์แสดงถึงความงามทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของชาวอีสาน เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางศิลปะและวัฒนธรรมอีสานการวิจัยและเผยแพร่ตามนโยบายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย
                ในปี พ.ศ.2547 มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ โดยสภามหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2547 และ สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2549
ในปี พ.ศ.2548 ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต(ปร.ด.) สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรใหม่โดยสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 และ สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 โดยได้กำหนดชุดครุยปริญญา และ สีประจำหลักสูตร คือสี เทาเงิน  
               

ความรู้ที่ได้จากการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
จากการไปทัศนศึกษาที่สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานในครั้งนี้ คุณชวนากร จันนาเวช เป็นวิทยากรได้ให้ความรู้ไว้ดังนี้





วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

หน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ ( ตัวสะกด )



พยัญชนะ ๔๔ รูป ใช้เป็นตัวสะกดได้เป็นส่วนมาก ( ที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดได้แก่ ฉ ฌ ผ ฝ ห อ ฮ ) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด


มี ๘ มาตราหรือ ๘ แม่คือ


๑. เสียง ง หรือ แม่กง ใช้ ง เป็น ตัวสะกด เช่น จริง ซุง คลอง


๒. เสียง ม หรือ แม่กม ใช้ ม เป็นตัวสะกด เช่น ชม คลุม โดม


๓. เสียง ย หรือ แม่เกย ใช้ ย เป็นตัวสะดก เช่น สวย เลย กาย


๔. เสียง ว หรือ แม่เกอว ใช้ ว เป็นตัวสะกด เช่น หิว ขาว เขย


๕. เสียง ก หรือ แม่ กก ใช้ ก กร ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกด เช่น ปาก จักร เลข


๖. เสียง บ หรือ แม่ กบ ใช้ บ ป ปร ฟ พ ภ เป็นตัวสะกด เช่น เก็บ กราฟ โลภ ภพ


๗. เสียง ด หรือ แม่กด ใช้ ด จ ช ชร ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฒิ ต ตร ตุ ติ


ถ ท ทร ธ ธิ ศ ศร ษ ส เช่น โดด เพชร วุฒิ ครุฑ กบฎ


๘. เสียง น หรือ แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น กิน หาญ นคร กาฬ


ข้อสังเกต พยัญชนะที่ประสมด้วยสระแล้วไม่มีตัวสะกด เช่น ปลา ไป ที่ สระ น้ำ คำ เหล่านี้ เรียกว่า แม่ ก.กา

พยัญชนะไทย เสียงสูง กลาง ต่ำ







เสียงกลาง: 9 ตัว
ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
จำง่ายสุดแล้ว
ไก่ จิก เด็ก ตาย เฎ็ก ฏาย บน ปาก โอ่ง



เสียงสูง: 11 ตัว
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
ท่องว่า
ขอ ฃวด ฉัน เถิด ผู้ เฝ้า ฐาน ห้าม ศึก ษา เสือ

เสียงต่ำ: 24 ตัว
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

ต่ำคู่ มีเสียงคู่อักษรสูง 14 ตัว
พ ภ ฟ ฑ ฒ ท ธ ค ต ฆ ซ ฮ ช ฌ
ท่องว่า
ฅน เฒ่า ที่ ฆ่า ช้าง ซื้อ เฌอ คน โฑ พาน ธูป ภาพ ฟ้า แฮ

ต่ำเดี่ยว(ไร้คู่) 10 ตัว
ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล
ท่องว่า
งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก


คำเป็น คำตาย



         
           

คำเป็น หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงได้สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้






1. คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ


2. คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ


3. คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ


คำตาย หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงไม่สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้คำตาย หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงไม่สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้


1. คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา (ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา)


สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ


2. คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ


ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ

โคลงสี่สุภาพ



โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรกและมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ


สมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ


สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร


สมัยธนบุรี ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ


สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตะเลงพ่าย โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง


โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน


เสียงสระ


   

    


    เสียงสระ เกิดขึ้นโดยอาศัยคอเป็นที่ตั้ง และริมฝีปากหรือลิ้นกระทบอวัยวะในปากเป็นเครื่องช่วย ลิ้นที่ทำให้เกิดเสียงมีอยู่ ๓ ส่วน คือ ลิ้นส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลังลิ้นแต่ละส่วนก็ยังสามารถกระดกขึ้นลงได้ ๓ ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ ถ้าลิ้นกระดกระดับต่าง ๆ เสียงสระที่เกิดขึ้นก็จะต่างกันไปด้วย จากตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นส่วนของลิ้นที่


รูปสระ
สระไทย ๒๑ รูป ดังนี้




 ะ วิสรรชนีย์

 " ฟันหนู

 อ ตัวออ


 ั ไม้ผัดหรือไม้หันอากาศ


 ตีนเหยียด


  ย ตัวยอ



 ็ ไม้ไต่คู้


 ู ตีนคู้


 ว ตัววอ



 ๆ ลากข้าง


 เ ไม้หน้า


 ฤ ตัวร



 ิ พินท์อิ


 ใ ไม้ม้วน


 ฤา ตัวรือ



 ่ ฝนทอง


 ไ ไม้มลาย


 ฦ ตัวลึ



 ํ นฤคหิต


 โ ไม้โอ


 ฦา ตัว ลือ



เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๔ เสียงจำแนกเป็นเสียงเดี่ยวหรือสระแท้ ๑๘ เสียงสระเลื่อน ๖ เสียง

  ๑. สระเดี่ยว หรือสระแท้ มี ๑๘ เสียง ซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาว ๙ คู่ ดังนี้
รัสสระ (สระเสียงสั้น) ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
อะ อา
อิ อี
อี อื
อุ อู
เอะ เอ
แอะ แอ
โอะ โอ
เอาะ ออ
เออะ เออ

พยัญชนะไทย





         

พยัญชนะในภาษาไทยมี 21 เสียง 44 รูป พยัญชนะที่เลิกใช้ไปแล้วคือ ฃ และ ฅ


รูปพยัญชนะ : ก ข ฅ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ


สระในภาษาไทย
สระในภาษาไทย มี 24 เสียง 21 รูป
เสียงสระ : อะ อา อิ อี อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ อัวะ อัว เอียะเอีย เอือะ เอือ


*นอกจากนี้ยังมีสระเกินคือ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ


วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป คือ

1. เสียงสามัญ

2. เสียงเอก

3. เสียงโท

4. เสียงตรี

5. เสียงจัตวา


ให้อ่านออกเสียงพยางค์เดียว


๒. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ ( ตัวสะกด )


พยัญชนะ ๔๔ รูป ใช้เป็นตัวสะกดได้เป็นส่วนมาก ( ที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดได้แก่ ฉ ฌ ผ ฝ ห อ ฮ ) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด


มี ๘ มาตราหรือ ๘ แม่คือ


๑. เสียง ง หรือ แม่กง ใช้ ง เป็น ตัวสะกด เช่น จริง ซุง คลอง


๒. เสียง ม หรือ แม่กม ใช้ ม เป็นตัวสะกด เช่น ชม คลุม โดม


๓. เสียง ย หรือ แม่เกย ใช้ ย เป็นตัวสะดก เช่น สวย เลย กาย


๔. เสียง ว หรือ แม่เกอว ใช้ ว เป็นตัวสะกด เช่น หิว ขาว เขย


๕. เสียง ก หรือ แม่ กก ใช้ ก กร ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกด เช่น ปาก จักร เลข


๖. เสียง บ หรือ แม่ กบ ใช้ บ ป ปร ฟ พ ภ เป็นตัวสะกด เช่น เก็บ กราฟ โลภ ภพ


๗. เสียง ด หรือ แม่กด ใช้ ด จ ช ชร ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฒิ ต ตร ตุ ติ


ถ ท ทร ธ ธิ ศ ศร ษ ส เช่น โดด เพชร วุฒิ ครุฑ กบฎ


๘. เสียง น หรือ แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น กิน หาญ นคร กาฬ


ข้อสังเกต พยัญชนะที่ประสมด้วยสระแล้วไม่มีตัวสะกด เช่น ปลา ไป ที่ สระ น้ำ คำ เหล่านี้ เรียกว่า แม่ ก.กา


๓. ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์


ตัวการันต์ คือพยัญชนะท้ายพยางค์ที่มีเครื่องหมาย ทัณฑฆาต กำกับ ไม่ต้องอ่านออกเสียง


เช่น บัลลังก์ จันทร์ สิทธิ์ พันธ์ พระลักษณ์ ฯลฯ

บทความเรื่องลักษณะของคำในภาษาไทย







1. เป็นคำภาษาโดด มีคำใช้โดยอิสระ ไม่ต้องเปลี่ยนรูปเพื่อบอก เพศ,พจน์,กาล เช่น พ่อ,แม่,เขย,ลุง,พระ เป็นคำแสดงเพศในตัว ฝูง,กอง,เดียว,เหล่า,เด็กๆ เป็นคำแสดงพจน์(จำนวน)ในตัว กำลัง,จะ,แล้ว,เพิ่ง,เมื่อวาน เป็นคำแสดงกาล(เวลา)ในตัว


2. คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว เป็นคำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว เข้าใจได้ทันที เช่น แมว,กบ,แม่,นอน,สวย,พ่อ,นา


3. สะกดตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา และไม่มีคำใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ เช่น มาตราแม่กก สะกดด้วย ก: ปาก,มาก,นัก,จัก,บอก
มาตราแม่กด สะกดด้วย ด: ปาด,ลด,สอด,ปิด,จุด
มาตราแม่กบ สะกดด้วย บ: รบ,พบ,จับ,สิบ,งบ
มาตราแม่กง สะกดด้วย ง: ลง,ราง,พุ่ง,ว่าง,รอง,มาตราแม่กน สะกดด้วย น: ฝัน,ปีน,กิน,ตน,นอน
มาตราแม่กม สะกดด้วย ม: นม,ตูม,นิ่ม,ขม,ซ้อม
มาตราแม่เกย สะกดด้วย ย: ย้าย,เฉย,รวย,หาย,สวย
มาตราแม่เกอว สะกดด้วย ว: ดาว,เลว,ชาว,ทิว,กิ่ว


4. มีเสียงวรรณยุกต์ทำให้ระดับเสียงต่างกัน,มีคำใช้กันมากขึ้น ,เกิดความไพเราะดังเสียงดนตรีและสามารถเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างไกล้เคียง เช่น โฮ่งๆ,กุ๊กๆ,เจี๊ยบๆ,ฉ่าๆ,ตุ้มๆ, วรรณยุกต์สร้างคำเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง
นอง,น่อง,น้อง ;ไร,ไร่,ไร้ วรรณยุกต์ทำให้มีเสียงต่างกัน


5. การสร้างคำ ภาษาไทยมีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้และมีการสร้างคำใหม่โดยการประสมคำ,ซ้ำคำ,ซ้อนคำ,การสมาส-สนธิ ฯลฯ เช่น พ่อมด,แม่น้ำ,วิ่งราว คือการนำคำไทยมาประสมกับคำไทย
รางชอล์ก,เพลงเชียร์,ของฟรี, คือการนำคำไทยมาประสมกับคำในภาษาอังกฤษ
มนุษย์+ศาสตร์ = มนุษยศาสตร์ ,ศิลป์+กรรม = ศิลปกรรม คือการนำคำจาก
ภาษาสันสกฤตสมาสกับคำภาษาสันสกฤต
ราช + โอวาท = ราโชวาท ,อิฏฐ + อารมณ์ = อิฏฐารมณ์ คือการนำคำจากภาษา
บาลีสนธิกับคำภาษาบาลี


6. การเรียงคำในประโยค ภาษาไทยเรียงเป็นประโยคแบบ ประธาน + กริยา + กรรม (ฉันกินไก่) ส่วนคำขยายจะเรียงไว้หลังที่ถูกขยายเสมอ เว้นแต่บอกปริมาณบางคำจะวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังที่ถูกขยายก็ได้ เช่น เธอวิ่งช้า,ฉันเขียนสวย คำขยายอยู่หลังคำถูกขยายมากคนมากความ,มีหลายเรื่องที่อยากบอก คำบอกปริมาณอยู่หลังคำที่ถูกขยายเดินคนเดียวล้มคนเดียว,เรือนสามน้ำสี่ คำบอกจำนวนอยู่หลังคำที่ถูกขยายส่วนคำขยายกริยา และมีกรรมมารับ คำขยายจะอยู่หลังกรรม เช่น ฉันอ่านหนังสือมากมาย


7. มีลักษณนาม
ก. คำลักษณนามจะอยู่ข้างหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับเช่น ฉันรักแมวทั้ง 10 ตัว เข้าได้รับบ้าน 1 หลัง ที่ดิน 2 แปลงเป็นมรดก*ถ้าใช้คำว่า "เดียว" เป็นจำนวนนับ คำลักษณนามจะอยู่หน้าคำว่าเดียว เช่น ขวดเดียวก็เกินพอ
ข. คำลักษณนามตามหลังคำนามเพื่อลักษณะของนามนั้น เช่น ปลาตัวใหญ่นี้แพงมาก, ที่ดินแปลงนี้สวยจริง ๆ ,เทียนเล่มแดงหายไปไหน


8. ภาษาไทยมีการแบ่งวรรคตอนเป็นจังหวะ การเขียนภาษาไททยจำเป็นต้องแบ่งวรรคตอน ส่วนการพูดภาษาไทยก็จำเป็นต้องเว้นจังหวะให้ภฃถูกต้อง เพื่อความชัดเจนของข้อความที่จะพูดและเขียนนั้น เช่น ยานี้กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน หมายความว่า ยานี้กินแล้วดี ยานี้กินแล้วแข็ง แรงไม่มีโรค โรคภัยเบียดเบียน หมายความว่า ยานี้กินแล้วไม่ดี


9. ภาษาไทยมีคำเลือกใช้ตามกาละเทศะ การเลือกใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคคลแสดงถึงลักษณะของวัฒนธรรมทางภาษา สังคมไทยเป็นสังคมที่นับถืออาวุโส ทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาาติวุฒิ จึงมีคำใช้ตามฐานะของบุคคลเพื่อแสดงถึงความยกย่องกันและกัน ภาษาจึงมี "คำราชาศัพท์" ใช้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย

ความเชื่อและพิธีกรรมในวรรณคดีไทย








                                      


พระอภัยมณี


เรื่องราวเกี่ยวข้องกับภูติผี เทวดา และความเชื่อตามคำสอนทางศาสนามีความผูกพันทางด้านจิตใจกับชาวบ้านเป็นอย่างมาก และมีส่วนส่งเสริมให้กระทำความดีสร้างความสงบสุข ความอบอุ่นใจ (เพ็ญศรี จันทร์ดวง, 2542, หน้า 216) ดังนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงการกระทำความดีและผลที่จะได้รับ ดังนี้


อย่าลุ่มหลงจงอุตส่าห์รักษาศีล ให้เพิ่มภิญโญไปดังใจหมาย

อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตคิดอุบาย จะจำตายตกนรกอเวจี

พี่แบ่งบุญบรรพชาสถาผล ส่วนกุศลให้สุดามารศรี

กลับไปอยู่คูหาในวารี อย่าได้มีห่วงใยอาลัยลาญ


ในด้านสภาพสังคมที่มีพื้นฐานความเชื่อภูตผี เทวดา สิ่งเร้นลับเป็นทุนเดิม รวมทั้งการอบรมให้เด็กต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ จะมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการสืบทอดแนวความคิดและการปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานของสังคม เป็นเรื่องของการสร้างความมั่นใจ และอบอุ่นใจในการดำรงชีวิต เช่น


ให้เคลิ้มเคล้นเห็นปีศาจประหวาดหวั่น อินทรีย์สั่นเศียรพองสยองขน

ท่านบิดาหาผู้ที่รู้มนต์ มาหลายคนเขาก็ว่าต้องอารักษ์

หลงละเมอเพ้อพูดกับผีสาง ที่เคียงข้างคนผู้ไม่รู้จัก

แต่หมอเฒ่าเป่าปัดชะงัดนัก ทั้งเซ่นวักหลายวันค่อยบรรเทา

ให้คนทรงลงผีว่าพี่เจ็บ ว่าเพราะเก็บดอกไม้ที่ท้ายเขา

ไม่งอนง้อขอสู่ทำดูเบา ท่านปู่เจ้าคุ้มแค้นจึงแทนทด

ครั้นตาหมอขอโทษก็โปรดให้ ที่จริงใจที่ก็รู้อยู่ว่าปด

แต่ชาวบ้านท่านถือข้างท้าวมด จึงสู้อดนิ่งไว้ในอุรา


(นิราศเมืองแกลง)

นิทานเรื่องแพะน้อยผู้น่าสงสาร

นิทานเรื่องแพะน้อยผู้น่าสงสาร
จัดทำโดย

นางสาวน้ำฝน ปะสังคะเต
รหัสนักศึกษา533410010354
สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


1
2
3

4

5
6

7
8
9
10
11
12
13


ดาวน์โหลดที่นี่ คลิกที่นี่

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

เสียงพยัญชนะนาสิก





     เสียงพยัญชนะนาสิก เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วยริมฝีปากหรือลิ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่ออกเสียงขึ้นจมูก (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก


     โดยหลักการแห่งการเกิดเสียง เสียงนาสิกเป็นเสียงกลุ่มซอนอแรนต์ (sonorant) ซึ่งหมายความว่าเสียงกลุ่มนี้จะไม่ปิดกั้นลมออก และเป็นเสียงก้องเสมอในแทบทุกภาษา เว้นแต่ภาษาไอซ์แลนด์กับภาษาเวลส์ที่มีแบบเสียงไม่ก้อง (ในขณะที่เสียงกลุ่มออบสตรูนต์ (obstruent) คือเสียงที่ปิดกั้นลมออก หรือปล่อยอากาศปริมาณน้อย และมีทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง) อย่างไรก็ตามเสียงนาสิกต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นเสียงกักบนฐานที่เกิด เพราะการไหลของอากาศผ่านปากหยุดโดยสิ้นเชิง แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยอากาศออกทางจมูกแทน จึงสามารถเรียกได้ว่าเสียงนาสิกมีพฤติกรรมที่เหมือนทั้งซอนอแรนต์และทั้งออบสตรูนต์ โดยทั่วไปเสียงนาสิกจะพิจารณาว่าเป็นซอนอแรนต์ตามคำอธิบาย แต่ในหลายภาษาเสียงนาสิกพัฒนามาจากหรือพัฒนาไปเป็นเสียงพยัญชนะกัก เสียงนาสิกมีแถบของพลังงานอยู่ที่ประมาณ 200 ถึง 2,000 เฮิรตซ์