วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม







ประวัติการก่อตั้งสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
อีสาน ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรม ที่สืบทอดมาเป็นเวลานานจาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น การขุดค้นพบ ศิลปวัฒนธรรมบ้านเชียง  ซึ่งนับว่าเป็นอารยธรรม ใหม่ของโลกนั้น ยืนยันได้ว่าอีสาน เคยเป็นแหล่งอารยธรรม อันเก่าแก่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่  ความเชื่อศิลปะประเพณีและภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีความสำคัญยิ่ง  ด้วยการเล็งเห็นคุณค่าความสำคัญ ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ของชาวอีสานนี้ " สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน " จึงได้กำเนิดขึ้นสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานเป็น  หน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีฐานะ เทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัย
 "ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓โดย เริ่มจากกลุ่มผู้สนใจ คณาจารย์ นิสิต ชาวบ้านที่มีใจรักในงานศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ใช้เวลาว่างในวันหยุดออกสำรวจศึกษาถ่ายภาพและซักถาม สัมภาษณ์ สังเกต ดูของจริง เก็บตัวอย่างทำการรวบรวมข้อมูล นำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์วิจัย จัดนิทรรศการ เพื่อการอนุรักษ์  เผยแพร่และส่งเสริมให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันโดยเฉพาะด้านการศึกษาวิจัยศิลปะพื้นบ้าน ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถนำผลวิจัยไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพและยกฐานะทางเศรษฐกิจ ของประชาชนในท้องถิ่นให้สูงขึ้นการดำเนินงานเป็นไปด้วยดีเพราะความร่วมมือร่วมใจของคณาจารย์ นิสิต เจ้าหน้าที่ และที่สำคัญคือ ความร่วมมือที่ดีและจริงใจของชาวบ้านในท้องถิ่นอีสานศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อตั้งขึ้น ณ ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม       (ในสมัยนั้น )
              " ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "ได้พัฒนาก้าวหน้าเป็นลำดับการขยายการดำเนินงานเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้ผู้ที่ี่สนใจนิสิตนักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๒๙ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศให้"ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"มีชื่อเป็นทางการว่า "สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน"โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๙๘หน้า ๙ -๑๐ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๙ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน ๔๒ ล้านบาท สร้างอาคารของสถาบันฯ เป็นอาคารทรงไทยอีสานประยุกต์ ๔ ชั้นซึ่งมีเอกลักษณ์แสดงถึงความงามทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของชาวอีสาน เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางศิลปะและวัฒนธรรมอีสานการวิจัยและเผยแพร่ตามนโยบายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย
                ในปี พ.ศ.2547 มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ โดยสภามหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2547 และ สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2549
ในปี พ.ศ.2548 ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต(ปร.ด.) สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรใหม่โดยสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 และ สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 โดยได้กำหนดชุดครุยปริญญา และ สีประจำหลักสูตร คือสี เทาเงิน  
               

ความรู้ที่ได้จากการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
จากการไปทัศนศึกษาที่สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานในครั้งนี้ คุณชวนากร จันนาเวช เป็นวิทยากรได้ให้ความรู้ไว้ดังนี้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น